วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน(Eclecticism)

การศึกษาผสมผสาน
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้
มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น
และทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวย
ความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง
วิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา
ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
                จาก พ.ร.บ. มาตราที่ ๒๔ สอดคล้องกับปรัชญาผสมผสาน ซึ่งมีใจความว่า ปรัชญาล้วนมีแง่มุมและจุดเด่นไปคนละแบบซึ่งเกิดมีการเลือกนำเอาประเด็นต่างๆของปรัชญามาผสมผสานกันเพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการทำให้เกิดปรัชญาการศึกษาแบบผสมผสานขึ้น ซึ่งไม่มีสาระของตัวเองที่ตายตัวขึ้นอยู่กับการผสมผสานของแต่ละบุคคล/กลุ่ม ซึ่งโดยปกติแล้วการผสมผสานจะไม่ใช้แนวคิดของปรัชญาใดปรัชญาหนึ่งทั้งหมด การผสมผสานที่ดีจะต้องมีลักษณะที่กลมกลืน คือ ประเด็นที่นำมาผสมผสานจะต้องไม่มีความขัดแย้งกัน

ปรัชญาปฏิรูปนิยม(Reconstructionism)

ปฏิรูปนิยม
มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา
ตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความ
เหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน
ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมือง
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์
เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้
ภูมิปัญญา
(๔) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
                จาก พ.ร.บ. มาตราที่ ๒๓ สอดคล้องกับปรัชญาปฏิรูปนิยม ซึ่งมีใจความว่า มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนที่มีต่อสังคมและการปฏิรูปให้สังคมดีขึ้น เนื้อหาหลักสูตรจะเน้นสาระที่เกี่ยวข้องกับสภาพและปัญหาของสังคม กระบวนการประชาธิปไตยและประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ส่วนการจัดการเรียนการสอนนั้นจะเน้นการให้ผู้เรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทางสังคมและเน้นกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมประชาธิปไตย

ปรัชญาอัตนิยม(Existentialism)

อัตนิยม
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้
มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น
และทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวย
ความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง
วิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา
ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
                จาก พ.ร.บ. มาตราที่ ๒๔ สอดคล้องกับปรัชญาอัตนิยม ซึ่งมีใจความว่า ให้ความสำคัญและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุดและส่งเสริมผู้เรียนในด้านการค้นคว้า ความหมายและสาระสำคัญของชีวิตของเขาเอง มีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ต้องการ มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่างๆและรับผิดชอบในการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
 

ปรัญาพิพัฒนานิยม(Progressivism)

พิพัฒนนิยม
                มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้
มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น
และทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวย
ความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง
วิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา
ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
จาก พ.ร.บ. มาตราที่ ๒๔ สอดคล้องกับปรัชญาพิพัฒนนิยม ซึ่งมีใจความว่า ให้ความสนใจต่อการปฎิบัติหรือกา​รลงมือกระทำ ไม่สนใจหรือไม่เห็นความสำคัญของ​การคิด สนใจแต่การกระทำเป็นหลัก ความหมายของปรัชญานี้คือ การนำความคิดไปสู่การกระทำ และได้เสนอแนะการจัดการเรียนการ​สอนแบบใหม่ที่เน้นให้ผู้เรียนได​้เรียนรู้จากลงมือทำหรือที่เรีย​กกันติดปากว่า “Learning by doing”

สัจนิยมวิทยา(Perennialism)

สัจนิยมวิทยา
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้
มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น
และทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวย
ความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง
วิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา
ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
จาก พ.ร.บ. มาตราที่ ๒๔ สอดคล้องกับปรัชญาสัจนิยมวิทยา ซึ่งมีใจความว่า การจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนจดจำใช้เหตุผลและตั้งใ​จกระทำสิ่งต่างๆโดยผู้สอนใช้การ​บรรยาย ซักถามเป็นหลักรวมทั้งเป็นผู้คว​บคุมดูแลให้ผู้เรียนอยู่ในระเบี​ยบวินัยและให้ผู้เรียนมีอิสระใน​การที่จะเลือกเรียนตามใจชอบ

สารัตถนิยม(Essentialism)

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
การศึกษาหมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความ
ก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัย
เกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
"การศึกษาขั้นพื้นฐานหมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิตหมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาใน
ระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิต
สถานศึกษาหมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย
สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่
หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานหมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาหมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์
และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับ
การส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายในหมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงาน
ต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอกหมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการ
ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอนหมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
"ครู" หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริม
การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของทั้งของรัฐและเอกชน
"คณาจารย์" หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษาหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา
แต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษาหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษา
นอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษาหมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง
ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน
การสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

กระทรวงหมายความว่า กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
จากพ.ร.บ. มาตราที่ ๔ สอดคล้องกับปรัชญาสารัตถนิยม ซึ่งมีใจความว่า การศึกษาคือเครื่องมือในการสืบท​อดมรดกทางสังคม คือวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทั้งหลา​ยอันเป็นแก่นสาระสำคัญของสังคมใ​ห้ดำรงอยู่ต่อๆไป ดังนั้นหลักสูตรการศึกษาจึงควรป​ระกอบไปด้วย ความรู้ ความจริงและการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกฎ​เกณฑ์และปรากฏการณ์ตามธรรมชาติต่างๆ การจัดการเรียนรู้การสอนตามแนวค​วามเชื่อนี้จึงเน้นการให้ผู้เรี​ยนแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริง และการสรุปกฎเกณฑ์จากข้อมูล ข้อเท็จจริงเหล่านั้น